สามพันโบก

สามพันโบก หรือ “แกรนด์แคนยอนเมืองไทย” ตั้งอยู่ที่บ้านโป่งเป้า ตำบลเหล่างาม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติเป็นแก่งหินขนาดใหญ่ที่ถูกกัดเซาะกลายเป็นแอ่งและหลุดมากมายเรียกในภาษาถิ่นว่า “โบก” ผลงานของแม่น้ำโขงกัดเซาะแก่งหินช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่ทำให้เกิดเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 โบก ฝั่งตรงข้างเป็นประเทศลาว นอกจากโบกหินสวยงามยังพบวิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนไทยและคนลาวริมฝั่งโขง การไปเที่ยวสามพันโบกควรไปช่วงฤดูแล้ง เพราะโบกจะโผล่พ้นน้ำให้เห็นกลางลำน้ำโขง ความสวยงามของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น รูปดาว วงรี มิกกี้เม้า และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพูเดิล มีความสวยงาม แกรนด์แคนยอนเป็นหน้าผา 2 ฝั่ง ความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติได้รังสรรค์ออกมาเป็นของขวัญให้กับมนุษย์ อีกทั้งมี “ตำนานปู่จกปู” หลุมโบกที่เกิดขึ้นมากมาย ก่อเกิดเรื่องเล่าว่า ปู่พาหลานมาจับปาบริเวณถ้างต้อน (ต้อนเป็นเครื่องมือดักปลาของคนอีสาน) ไม่สามารถจับปลาได้จึงใช้มือล้วงปูหินริมน้ำโขงจนเกิดโบกที่แปลว่า “หลุม” (สามพันหลุม)

สามพันโบกสามารถขับรถเข้าไปถึงได้ จะมีลานจอดรถ รวมทั้งร้านค้า ร้านอาหาร และห้องน้ำ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถที่จะเดินเข้าไปเที่ยวชมสามพันโบกได้โดยไม่ต้องนั่งเรือ หากอยากเที่ยวสามพันโบกให้ครบรส แนะนำให้ไปล่องเรือแม่น้ำโขงที่หาดสลึง ซึ่งเป็นท่าเรือสำหรับพานักท่องเที่ยวไปเที่ยวยังจุดที่อยู่

ใกล้กับสามพันโบก ราคาเรือเช่าเหมาลำอยู่ที่ 1,000 บาท สามารถนั่งได้ 12 – 15 คน นักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นไปเที่ยวชม “หาดหงส์” หาดทรายสุดกว้างใหญ่ริมแม่น้ำโขงเกิดจากการพัดพาของลม รวมทั้งเล่นสไลเดอร์ หรือไปที่ “ปากบ้อง” จุดที่แม่น้ำโขงนั้นแคบที่สุดในช่วงที่น้ำลดและมีหน้าผาหินขวางกั้นลำน้ำโขงสองฝั่งจนมีทางน้ำไหลผ่านเพียงแค่ประมาณ 56 เมตร หินรูปร่างต่าง ๆ เช่น หินรูปมิกกี้เมาส์ (ภาพที่ 4.14) และหินรูสุนัขพุดเดิล (ภาพที่ 4.15)หรือไปที่ “หินหัวพะเนียง” เกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขง รูปร่างแปลกตาคล้ายกับอุปกรณ์ประกอบคันไถ จุดที่แม่น้ำโขงแยกเป็นสองสายเรียกกันว่า “แก่งสองคอน” หรือไปที่ “ผาหินศิลาเลข” บริเวณผาหินสูงในลำน้ำโขงเกิดจากการแกะสลักตัวเลขบอกระดับน้ำในแม่น้ำโขง โดยชาวฝรั่งเศสที่นำเรือขนส่งสินค้าเข้ามาค้าขายในแถบอินโดจีนในช่วงที่ฝรั่งเศสมีอำนาจแถบนี้ การไปเที่ยวสามพันโบกควรให้ไปเที่ยวช่วงเวลาประมาณ 06.00 – 09.00 น. และ 15.00 – 17.30 น. ช่วงที่แดดไม่ร้อนมาก และควรพกอุปกรณ์กันความร้อน เพราะสามพันโบกอยู่กลางแจ้งบางช่วงอากาศร้อนอบอ้าว การเดินทางสามารถใช้ได้ทั้ง รถยนต์ และรถประจำทาง ตามถนนทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2050 มุ่งหน้าอำเภอโพธิ์ไทร

การเดินทาง

จากอำเภอเมืองอุบลราชธานี ใช้ทางหลวงหมายเลข 2050 (ถนนอุบลฯ-ตระการพืชผล-เขมราฐ) ผ่านอำเภอตระการพืชผลแล้วเลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2337 ผ่านอำเภอโพธิ์ไทร ไปจนถึงจุดตัดกับทางหลวงหมายเลข 2112 แล้วเลี้ยวขวามุ่งหน้าไปสู่อำเภอโขงเจียม ขับไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตรจะเจอทางแยกซ้ายเข้าสู่สามพันโบก หลังจากนั้นเลี้ยวซ้ายและตามด้วยเลี้ยวขวาที่สามแยกต่อมา ขับไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตรจะถึงสามพันโบก

สถานที่ท่องเที่ยวที่ใกล้เคียงสามพันโบก

1)  หาดหงส์ เป็นเนินทรายแม่น้าโขงขนาดมหึมา เกิดจากการพัดพาของน้ำ และนำตะกอนทรายมาทับถมกัน จนลักษณะพื้นที่เป็นพื้นทรายกว้างใหญ่ มีลักษณะคล้ายกับทะเลทรายที่กว้างใหญ่ ช่วงเวลาที่นิยมมาเที่ยวหาดหงส์จะเป็นช่วงเวลาในยามบ่ายแก่ๆ ช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้า ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่สวยงามมากเพราะแสงทองของดวงอาทิตย์จะกระทบกับทรายสีขาวระยิบระยับ สวยงามยิ่งนัก

2)  ปากบ้อง เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลายการปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ ในยามฤดูแล้งราวเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมิถุนายน ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทยยาวกว่า 700 กิโลเมตรเป็นจุดที่แม่น้าโขงแคบที่สุด “ปากบ้อง” เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก ลักษณะเหมือนคอขวด ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร

3)  หินหัวพะเนียง อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทรจังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นเกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถอยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง หินหัวพะเนียง มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียง คือ แท่นไม้ ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก) ชาวบ้านจึงเรียกว่า หินหัวพะเนียงแต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็นจึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อเรียกว่า “หินหัวพะเนียง” เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่นำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย

4)  ผาหินหลักศิลาเลข ร่องรอยประวัติศาสตร์สมัยฝรั่งเศสเรืองอำนาจในแถบอินโดจีน ฝรั่งเศสได้นำเรือกลจักรไอน้ำขนส่งสินค้าระหว่างหลี่ผี เวียงจันทน์ซึ่งอยู่ก่อนถึงหาดหงส์และฝรั่งเศสได้แกะสลักตัวเลขที่หน้าผาหิน สำหรับบอกระดับน้ำในแม่น้าโขงเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ เนื่องจากช่วงที่น้ำหลากบริเวณนี้จะมีแนวหินโสโครกจำนวนมาก