วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว หรือ “วัดเรืองแสง” ตั้งอยู่ที่อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี การเดินทางสามารถใช้รถยนต์จากตัวเมืองอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 88.4 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที เนื่องจากไม่มีรถสาธารณะให้บริการในเส้นทางดังกล่าวนักท่องเที่ยวจึงอาจจะต้องเช่ารถขับหรือเหมารถโดยสารท้องถิ่นไป วัดตั้งอยู่บนเนินเขาสูงจำลองสภาพแวดล้อมจากป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาศบนยอดเขาจะมองเห็นพระอุโบสถสีทองตั้งเด่นสง่า จุดเด่นของวัด คือ ภาพเรืองแสงเป็นสีเขียวของของต้นกัลปพฤกษ์ จิตรกรรมบนผนังด้านหลังของอุโบสถยามค่ำคืน (เวลาเหมาะสำหรับการชมและถ่ายภาพตั้งแต่เวลา 6.00.19.30 น.) (ภาพที่ 4.5) บริเวณด้านหลังพระอุโบสถเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ของประเทศลาวและมองเห็นด่านช่องเม็ก อีกทั้งอ่างเก็บน้ำบริเวณเชิงเขาคล้ายกับทะเลสาบที่มองเห็นพระอาทิตย์ดวงโตและบรรยากาศสวยงาม อีกทั้ง ต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสงเป็นฝีมือการออกแบบของช่าง คุณากร ปริญญาปุณโณ ได้แรงบันดาลใจจากต้นไม้แห่งชีวิตในภาพยนตร์เรื่อง “อวตาร” เป็นการใช้สารเรืองแสงหรือสารฟลูออเรสเซนต์รับแสงพระอาทิตย์ ในตอนกลางวันแล้วจะฉายแสง ออกมาในตอนกลางคืน ตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจาก “วัดเชียงทอง” ประเทศลาว เสาแต่ละต้นลงลวดลายด้วยมือ รอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า ทางเข้าเป็นต้นสาละ หัวใจหลักของการทำพุทธศิลป์ คือ การนำเสนองานศิลปะที่เกิดจากความสงบ ความเพียร ความอดทน และวิสัยทัศน์ มีแนวคิดการจำลองให้วัดเป็นเขาพระสุเมรุ (ไปด้วยกัน, 10 ธันวาคม 2562 จาก https://www.paiduaykan.com/travel/ที่เที่ยวอุบล)
พระอาจารย์บุญมาก เป็นผู้ริเริ่มโดยท่านเป็นคนฝั่งลาวจำปาสัก เข้ามาเผยแพร่อบรมสมาธิทางฝั่งไทย และได้ปักกลดที่ภูพร้าวในปี พ.ศ. 2497-2498 ได้กลับไปประเทศลาว กระทั่งปี พ.ศ.2542 พระครูกมล (ลูกศิษย์) ได้ค้นพบวัดอีกครั้งและบูรณะกลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมอย่างเดิม หลังจากพระครูกมลละสังขารในปี 2549 พระครูปัญญา เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดและสานต่องานสร้างวัดต่อจนถึงปัจจุบัน (Nnanthisin, 6 กุมภาพันธ์ 2563 จาก: https://travel.trueid.net/detail/2gynAdBP1j0Q) มูลเหตุของการสร้างวัดสิรินธรวรารามภูพร้าว เนื่องด้วยเป็นสถานที่พระบูรพาจารย์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้มาอธิษฐานจิตและได้ขอบิณฑบาตไว้เพื่อตั้งวัดในพระพุทธศาสนา ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ชายแดน ติดกับสาธารณรัฐประชาชนลาว ฝ่ายทหารและทางฝ่ายตำรวจตระเวนชายแดน ได้มีความเห็นชอบที่จะให้มีการตั้งวัดขึ้นเพื่อเป็นแนวกันชนระหว่างชายแดน เพื่อรักษาและพัฒนาบูรณะปลูกต้นไม้เสริมในเขตแนวป่าไม้ ให้กลับคืนสู่ความสมบูรณ์ของธรรมชาติ สถานที่แห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญบุญร่วมกันของพี่น้องชาวไทยและชาวลาว ที่เดินทางไปมาหาสู่กัน ก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองกันระหว่างประเทศ (สารสนเทศท้องถิ่นอีสาน ณ อุบลราชธานี. 22 กันยายน 2560 จาก http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/esaninfo/?p=2980)
ตัววัดจะอยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุบลราชธานีราว 70 กม. หากเดินทางจากจุดเริ่มต้นที่ตัวจังหวัด ให้ตรงไปยังเส้นทางไป อ.พิบูลมังสาหาร เมื่อถึงอ.พิบูลมังสาหารแล้วจะมีสามแยกไฟแดง ให้เลี้ยวซ้ายไปทาง อ.สิรินธร ขับตรงไปยังเส้นนั้นซึ่งสามารถไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวอย่างพัทยาน้อย ทะเลน้ำจืดคนอุบลหรือเขื่อนสิรินธร ซึ่งอยู่ระหว่างทางได้ และวัดจะอยู่ก่อนถึงด่านตรวจคนเข้าเมืองช่องเม็กประมาณ 3 กม. ทางซ้ายมือจะมีป้ายบอกทางเข้าวัดที่ถนนใหญ่ โดยเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 2 กม.เนื่องจากไม่มีรถสาธารณะให้บริการในเส้นทางดังกล่าว นักท่องเที่ยวจึงอาจจะต้องเช่ารถขับ หรือเหมารถโดยสารท้องถิ่นไปยังวัดสิรินธรวราราม (วัดภูพร้าว)
1) โซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด ใหญ่ที่สุดในโลก แลนด์มาร์กแห่งใหม่ของ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนผืนน้ำอันกว้างใหญ่พื้นที่กว่า 450 ไร่
2) สันเขื่อนสิรินธร มีพื้นที่ประมาณ 288 ตารางกิโลเมตร และยังเห็นวิวภูเขากับท้องฟ้าไกลออกไปสุดลูกหูลูกตา นับเป็นสิ่งดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมและพักผ่อนหย่อนใจไม่ ขาดสาย หรือจะมาวิ่งออกกำลังกายสัมผัสบรรยากาศริมเขื่อน
3) ผาตั้ง ถัดจากโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด หากล่องเรือมาตามทางของกระแสน้ำจะพบกับหินผาริมน้ำที่เป็นจุดแวะพักของเรือ แพและยังเป็นจุดวัดใจนักท่องเที่ยวที่ชอบความท้าทายปีนขึ้นไปเพื่อกระโดดลงน้ำในระดับสูง
4) วัดป่าโพธิญาณ (วัดเกาะ) ตั้งอยู่ที่บ้านอ่างศิลา ตำบลช่องเม็ก ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร นอกจากนี้ ยังสร้างอุโบสถยื่นออกไปในอ่างเก็บน้ำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวัดแห่งนี้
ที่ตั้งวัดสิรินธรวรารามภูพร้าว : เลขที่ 99 หมู่ที่ 6 บ้านอ่างประดู่ ตำบลช่องเม็ก อำาภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน เวลา 6:00 น. – 21:00 น. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการท่องเที่ยว : ถ้าต้องการชมวัดเรืองแสง ควรมาช่วงพระอาทิตย์ตกดิน สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี และช่วงวันสำคัญทางพุทธศาสนา